วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

“หมัก” บรรลัย! ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ชี้พ้นสภาพผู้นำ



ตุลาการศาล รธน.มีคำวินิฉัยให้ “สมัคร” พ้นสภาพความเป็นนายกรัฐมนตรี กรณีเป็นลูกจ้างจัดรายการชิมไปบ่นไป ตามคำร้องของ กกต.และ ส.ว.พบหลักฐานภาษี ณ ที่จ่าย มัดคอ ปฏิเสธลูกจ้างไม่ออก วันนี้ (9 ก.ย.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นำโดย นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ประกอบมาตรา 182(7) ของ นายสมัคร อันเนื่องจากเป็นพิธีกรรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” คำวิจิฉัยศาลรัฐธรรมนูญสรุปใจความเบื้องต้นได้ว่า นายสมัคร ผู้ถูกร้องได้ร่วมดำเนินธุรกิจกับบริษัท เฟช มีเดีย จำกัด ในฐานะพิธีกร แม้จะอ้างไม่ใช่ลูกจ้าง แต่ทั้งนี้ ผู้ถูกร้องซึ่งเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ย่อมทราบข้อห้ามกฎหมาย ม.267 ดีอยู่แล้ว เพราะเข้าข่ายหมิ่นเหม่ แต่ยังคงร่วมดำเนินธุรกิจเรื่อยมา แต่มาเลิกเป็นพิธีกรก็ต่อเมื่อมีผู้ร้องเรียนถึงกกต. ขณะที่บริษัทเฟช มีเดีย ถือเป็นบริษัทเอกชน ย่อมมุ่งแสวงหากำไร และจะนำรายได้มาแบ่งปันกัน อีกทั้งจากหลักฐานพิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ถูกร้องได้ทำหน้าที่พิธีกร รายการชิมไปบ่นไป ตั้งแต่เมื่อครั้งออกอากาศทางสถานทีโทรทัศน์ไอทีวี และได้รับค่าตอบแทนเรื่อยมาเดือนละ 80,000 บาท จนกระทั่งมีโลโก้รูปภาพการ์ตูนจมูกชมพู่เป็นโฆษณาไปปรากฏบนจอโทรทัศน์ในช่วงอออกกาศ ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ที่ราบกันดีว่าหมายถึงตัวผู้ถูกร้อง ส่วนเรื่องผู้ถูกร้องโต้แย้งว่า ไม่ได้เป็นลูกจ้าง เฟช มีเดีย เพราะไม่ได้รับค่าจ้าง หรือเป็นผู้บริหารในบริษัท ซึ่งต้องวินิจฉัยตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่จากหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของกรมสรรพากรได้ยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พบว่า ผู้ถูกร้องมีเงินได้จากการเป็นพิธีกรจากบริษัท เฟช มีเดีย ต่อมาเมื่อ 6 ก.พ.2551 หลังผู้ถูกร้องได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมบันทึกเทปกับบริษัทเฟช มีเดีย อีก 2-3 ครั้ง และนำมาออกอากาศอีก โดยผู้ถูกร้องมิได้ดำเนินยับยั้ง โดยใช้รูปจมูกชมพู่เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดว่ามีการร่วมดำเนินธุรกิจกันจริง ส่วนความหมายคำว่า “ลูกจ้าง” ตาม รธน.ผู้ถูกร้องอย่าพยายามหาช่องหลีกเลี่ยง ต้องตีความเจตนารมณ์ วินิจฉัยการเป็นพิธีกรกิจการงานร่วมกับผู้ถูกร้อง มุ่งค้าหากำไรผุ้ถูกร้องต้องได้รับค่าตอบแทนตามฐานะ ม.267 ยังพบว่าข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่รับรายได้เพียงค่าน้ำมันรถ ถือว่าเป็นการให้ขัดแย้งกัน และพบว่า หลักฐานเพื่อปกปิดข้อเท็จจริง ตุลาการศาล รธน.จึงมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่า ผู้ต้องร้องกระทำต้องห้ามขัดต่อ รธน.267 จึงสิ้นสุดความเป็นรมต.เฉพาะตัว แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่
นาย พงศธร สายเพ็ชร์ 5131601128 sec.1

3 ความคิดเห็น:

Porta กล่าวว่า...

กรรมใดใครก่อกรรมนั้นย่อมตอบสนอง

Raywach 5131601465 sec02 กล่าวว่า...

กระทำผิดก็ว่าไปตามผิด

Unknown กล่าวว่า...

พ้นสภาพผู้นำ แต่พร้อมกลับมาใหม่

ได้ข่าวว่า พปช. เตรียมหนุนรอบสองแล้วนี่นา

เหนื่อยใจกับการเมืองไทยจริงจริง

ท่านกลับมา ประชาชนเสื่อมศรัทธาหมดแล้ว

แต่คนที่ยังรักท่านก็คงมี (มั๊งคะ)

513-1601-033 ชมพูนุช (นิติศาสตร์)